

รำแพน
คนอยู่ได้ นกยูงอยู่ได้
จากปัญหาการทำลายผลผลิตทางการเกษตรของฝูงนกยูง ในพื้นที่ล้านนาตะวันออก ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน ซึ่งฝูงนกยูงมักจะลงมาเก็บกินและทำลายผลผลิตทางการเกษตร ทั้งข้าว ผัก และผลไม้ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว ทำให้ผลผลิตเสียหาย จนทำให้ชาวบ้านต้องใช้อาวุธในการขับไล่ ทำร้าย ไม่ให้นกยูงลงมาทำลายผลผลิตทางการเกษตร แม้ว่านกยูงจะเป็นสัตว์ป่าสงวนที่ใกล้จะสูญพันธุ์แล้วก็ตาม จนกลายมาเป็นงานวิจัยเพื่อสังคมสู่ความยั่งยืนให้กับชุมชน

ส่งเสริมการอยู่ร่วมกัน
ระหว่างคนกับนกยูง ชุมชนแบ่งพื้นที่ส่วนกลางในแต่ละพื้นที่ กันบริเวณและหว่านเมล็ดพืชเพื่อปลูกเป็นแหล่งอาหารให้กับนกยูง หรือที่เรียกกันว่า “ข่วงนกยูง”

ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน
จากการสร้างข่วงนกยูง สามารถสร้างเป็นกิจกรรมดึงดูดนักท่องเที่ยว คือ “การส่องดูนกยูง” สัตว์ป่่าสงวนที่มีความสวยงาม เกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน

รวมกลุ่มสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้
แปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สร้างรายได้คืนสู่ชุมชน แลกเปลี่ยนกับการที่เสียรายได้จากการเสียที่ดินทำกินส่วนหนึ่งมาสร้างพื้นที่ส่วนกลาง